แอดมินแขกได้ไปเยี่ยมชมงาน School of Art, Design and Media ที่มหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งออกแบบโดย CPG Consultants Pte. Ltd. เลยนำภาพมาฝากกันครับ งานนี้มีจุดที่น่าสนใจตรงที่การเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นผิวที่เป็นทางสัญจร และ landscape กับหลังคาที่เป็น green roof รวมไปถึงรูปทรงโค้งๆของอาคารสองส่วนที่โอบล้อมเข้าหากัน
Category Archives: Educational
The Hive by Heatherwick Studio
พื้นที่การเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 ได้ถูกตั้งคำถามถึงความเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมกับยุคสมัยมากกว่าจะเป็นแค่ห้องที่มีกระดานดำพร้อมกับอาจารย์พูดในสิ่งที่คนในรุ่นใหม่อย่างเจนวาย (Gen Y) ไม่อยากรับการเรียนรู้แบบนี้อีก การเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปได้ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมเช่นกัน หากมองประเทศที่มีการจัดลำดับว่ามีการศึกษาที่ดีของโลก ประเทศในแถบเอเชียก็มีญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้ได้นำการศึกษาออกจากระบบที่ล้าสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ
รำลึกถึง Zaha Hadid : Dongdaemun Design Plaza
ขอรำลึกถึงการจากไปอย่างกระทันหันของ Zaha Hadid สถาปนิกหญิงท่านแรกที่ได้รับรางวัล Pritzker Prize ด้วย gallery ภาพงานชิ้นเดียวของเขาที่ผมเคยได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม นั่นคืองาน Dongdaemun Design Plaza ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งทุกครั้งถ้าผมได้มีโอกาสไปที่กรุงโซล ผมก็จะต้องแวะไปดู ตั้งแต่เพิ่งเริ่มก่อสร้างใหม่ๆจนกระทั่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ในทุกส่วนเมื่อปีที่ผ่านมา (ถ้าสนใจภาพที่เคยลงไปแล้ว สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ครับ Information Center, Dongdaemun History and Culture Park Part 1, Part 2, Part 3)
ป่าในกรุง โดย Spacetime
สถาปัตยกรรมดินในประเทศไทยจัดมีน้อยมาก เนื่องจากการใช้ดินสร้างสถาปัตยกรรมไม่เหมาะกับเมืองร้อนชื้นที่มากไปด้วยฝน เราจะสามารถพบสถาปัตยกรรมดินมากในแถบที่ฝนตกน้อย แต่เสน่ห์ของดินที่มีความงามแบบสัจจะจากเนื้อวัสดุ แค่เพียงความงามดิบเรียบง่ายของดินสามารถทำให้สถาปนิกเลือกที่จะใช้ในงาน และเทคนิคก่อสร้างที่น่าสนใจอีกแบบที่เป็นริ้วลายของการก่อสร้างจากการอัดดินทีละชั้นของผนังดินอัด (rammed earth) ทำให้สถาปัตยกรรมมีความน่าสนใจขึ้นมากกว่าวัสดุอุตสาหกรรมทั่วไปได้
Continue reading
Got Arch Classic: งานชิ้นเดียวของ Le Corbusier ในอเมริกา, Carpenter Center
เนื่องในวันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิดของ Le Corbusier ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับสถาปนิกไม่ว่าจะเป็นรุ่นใหญ่หรือรุ่นเล็กทั่วโลกมานับไม่ถ้วน ทางเว็บเราเลยขอนำงานชิ้นเดียวของเขาที่ได้รับการสร้างในประเทศอเมริกา นั่นคือ Carpenter Center for the Visual Arts ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัย Harvard เมือง Cambridge รัฐ Massachusetts
Carpenter Center for the Visual Arts ในสมัยนู้นนั้นตกเป็นเป็นที่ถกเถียงกันว่ามันเหมาะสมแล้วหรือไม่ที่ Le Corbusier ออกแบบอาคารที่โมเดิร์นมากท่ามกลางสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่มีแต่อาคารเก่าแบบประเพณี แต่ Le Corbusier คิดว่าอาคารที่จะสร้างเพื่ออุทิศให้แก่ทัศนศิลป์ หรือ Visual Arts นี้จะต้องเป็นการให้ประสบการณ์ของความเป็นอิสระและความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ได้ยึดติดกับอะไรทั้งนั้น
Continue reading
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
แอดมินแขกได้ไปเยี่ยมชมอาคารหน่วยงาน สสส หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งออกแบบโดยสถาบันอาศรมศิลป์ และบริษัท แปลน สตูดิโอ โดยทางสถาปนิกมีเป้าหมายที่จะสร้างสถาปัตยกรรมต้นแบบของการมีสุขภาวะที่ดีทั้ง กาย ใจ จิตวิญญาณ อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เลยเก็บภาพมาให้ชมกันครับ รายละเอียดและรูปเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาคารนี้สามารถอ่านได้ ที่นี่ ครับ
TCDC เชียงใหม่
แอดมินแขกพานักศึกษาไปทัศนศึกษาไกลถึงเชียงใหม่ คราวนี้ได้แวะเวียนไปเยี่ยมชม TCDC เชียงใหม่ ซึ่งออกแบบโดย DUANGRIT BUNNAG ARCHITECT LIMITED (DBALP) เลยเก็บภาพและเรื่องราวเล็กๆน้อยๆมาฝากกันเช่นเคยครับ
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ หรือที่เรียกติดปากว่า TCDC เชียงใหม่ เป็นTCDCที่ต่อเนื่องจากTCDC กรุงเทพฯ และได้ตั้งออกมาเป็นพื้นที่ของตัวเองเป็นที่แรก โดยตั้งอยู่ภายในสมาคมวัฒนธรรมสตรีล้านนาไม่ไกลนักจากแม่น้ำปิง TCDC เชียงใหม่เป็นพื้นที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบทั้งห้องสมุด ห้องสมุดวัสดุในจำนวนพื้นที่ให้บริการ 2 ชั้น และยังมีพื้นที่จัดงานแบบเอนกประสงค์ที่ชั้นล่างอีกด้วย
รูปทรงภายนอกเป็นกล่องห้าเหลี่ยมสีเหลืองและสีเทาเข้มวางติดกัน เปลือกสีเหลืองเป็นการทำสีพิเศษบนไม้เทียม จากการเข้าไปชมภายในศูนย์ และได้ลองพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ของTCDC เชียงใหม่ ปัญหาของโปรแกรมคือการคมนาคมด้วยขนส่งมวลชนของเชียงใหม่เองไม่สะดวก ผู้คนนิยมใช้รถส่วนตัวมากกว่า ทำให้ผู้คนในเชียงใหม่มาน้อย วิธีที่สร้างนิทรรศการให้ได้ผลคือการจัดในแหล่งชุมชน ในตัวเมืองจะเข้าถึงเป้าหมายได้มากกว่า ทำให้กิจกรรมในTCDC เชียงใหม่ไม่คึกคักเท่าที่ควร
Continue reading