College of Social Science, National Taiwan University by Toyo Ito

วันนี้ขอพาไปชมคณะสังคมศาสตร์ของ National Taiwan University ในเมืองไทเป ซึ่งออกแบบโดย Toyo Ito กันครับ โดยงานนี้มีส่วนประกอบหลักๆนั้นเป็นอาคารสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นอาคารเรียนโครงสร้างคอนกรีตเปลือยสูง 8 ชั้นที่ออกจะมาในแนว Corbusier เล็กน้อย และอีกส่วนหนึ่งซึ่งถือเป็นจุดเด่นของอาคารนี้คือ ส่วนอาคารชั้นเดียวที่เป็นห้องสมุด ที่ดูแล้วก็นึกถึงงานอาคาร Johnson Wax ที่ออกแบบโดย Frank Lloyd Wright อยู่พอสมควร

Continue reading

Bank of Thailand Learning Center by Creative Crews + Somdoon Architects

อาคารศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทความโดย คุณกัลยรัตน์ เอกสิทธิโชค

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในบริเวณของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นคือการมาอยู่รวมกันของอาคารหลายยุคหลายสมัย อย่างเช่นอาคารวังบางขุนพรหมนั้นมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบ Neoclassic ส่วนอาคารโรงพิมพ์ธนบัตรและอาคารสำนักงานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 และ พ.ศ. 2525 ตามลำดับ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ Tropical Modernism และในปี พ.ศ. 2550 อาคารสำนักงานหลังปัจจุบันก็ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิด Postmodernism โดยอ้างอิงถึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจากพระตำหนักในตัววัง การจะออกแบบปรับปรุงและต่อเติมอาคารท่ามกลางความหลากหลายทางสถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยทีเดียว

Continue reading

CENTER FOR SOUTHEAST ASIAN STUDIES, Kyoto University by Nikken Sekkei

มหาวิทยาลัยเคียวโตะเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ของญี่ปุ่น เปิดทำการสอนในหลายสาขา หนึ่งในสาขาที่มีชื่อเสียงคือการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ CENTER FOR SOUTHEAST ASIAN STUDIES (CSEAS) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอน วิจัย เก็บรักษาข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแผนที่ หนังสือ เอกสาร แลกเปลี่ยนความรู้ทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศาสนา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ของอุษาคเนย์ ในส่วนของห้องสมุดมีเอกสารที่รวบรวมมาจากประเทศในอุษาคเนย์กว่า 180,000 รายการ เฉพาะเอกสารภาษาไทยก็มีมากกว่า 9,000 เล่ม

Continue reading

KIT HOUSE Student Union building by Waro Kishi

Kyoto Institute of Technology หรือ KIT เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าในเคียวโตะและญี่ปุ่น เกิดจากการรวมกันของโรงเรียนงานฝีมือและโรงเรียนสิ่งทอพื้นที่สถาบันมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก อาคารเก่าที่สุดคืออาคารอำนวยการ สร้างในยุค 1930 ด้วยสไตล์โรงเรียนเบาเฮาส์จากเยอรมัน เปลือกอาคารเป็นผนังอิฐเปลือยทั้งหลัง อาคารอื่น ๆ ในKITเป็นอาคารที่กรุด้วยอิฐทำให้เกิดความกลมกลืนกันทั้งมหาวิทยาลัย

Continue reading

Singapore University of Technology and Design (SUTD) by DP Architects & UNStudio

มาดูอีกงานที่แอดมินแขกได้ไปแวะเยี่ยมชมและเก็บภาพมาฝากกันครับ งานนี้เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ในสิงคโปร์ที่เน้นทางด้านเทคโนโลยีและการออกแบบโดยเฉพาะที่มีชื่อว่า Singapore University of Technology and Design (SUTD) ที่น่าสนใจคือก่อตั้งด้วยความร่วมมือกับ MIT (Massachusetts Institute of Technology) มีการเปิดสอนสาขาสถาปัตย์ด้วย ตั้งแต่ตรีถึงเอกเลย แอดมินแขกได้แอบไปดูผลงานจากการเรียนการสอนที่ในห้องนิทรรศการก็ดูทันสมัยทีเดียว งานนักเรียนทำที่อยู่อาศัยบนดาวอังคารบ้าง วิจัยเรื่องหุ่นยนต์ในงานก่อสร้างบ้าง เรื่องไผ่บ้าง เรื่องเมืองที่ยั่งยืนเช่นการเพิ่มพื้นที่เขียวให้กับที่ว่างหลังบ้านแถว ตึกเรียนก็ลงทุนจ้าง UNStudio มาออกแบบเลย ไปชมรูปกันเลยครับ

School of the Arts Singapore (SOTA) by WOHA

แอดมินแขกของเราได้นำภาพงาน School of the Arts Singapore หรือชื่อย่อว่า SOTA ออกแบบโดย WOHA มาฝากครับ โดยงานนี้มีจุดน่าสนใจตรงผนังคอนกรีตเปลือยที่มีการใช้แบบฟอร์มคอนกรีตเป็นแพทเทิร์นสลับไปมา รวมไปถึงการใช้พืชพรรณบนผนังอาคารตามสไตล์งานของ WOHA  ครับ

School of the Arts Singapore (SOTA)
Location : Zubir Said Drive,Singapore
Architects : WOHA

GuanYin Pavilion by Studiomake

หลังจากวิกฤติน้ำท่วมในปี 2554 ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิตต้องการสร้างอาคารสถาบันไทย-จีน เพื่อรองรับกิจกรรมของมหาวิทยาลัยกับจีนในแบบต่างๆ อาคารแห่งนี้จึงไม่ธรรมดาด้วยแนวคิดที่มหาวิทยาลัยรังสิตมอบหมายให้ Studiomake สถาปนิกที่ออกแบบ “ศาลากวนอิม” (อาคารสถาบันไทย-จีนแห่งนี้มีประติมากรรมเจ้าแม่กวนอิมตั้งอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อศาลากวนอิม) ทำวิจัยงานนี้ให้สามารถลอยน้ำได้เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง การวิจัยในครั้งนี้นำไปสู่คำตอบที่ออกแบบให้พื้นที่ภายนอกเหมือนเป็นดั่งโป๊ะเรือ พื้นภายในเป็นอิสระกับโครงสร้างเสา เมื่อน้ำท่วมใหญ่กลับมาตัวพื้นจะสามารถลอยขึ้นลงได้ตามระดับน้ำ แม้ว่าในขั้นสุดท้ายจะไม่สามารถพัฒนาให้การลอยน้ำได้บรรลุตามจุดประสงค์เดิม แต่ศาลากวนอิมหลังนี้มีแง่มุมน่าสนใจอีกหลายด้านจนเป็นจุดเด่นเช่นกัน