Bank of Thailand Learning Center by Creative Crews + Somdoon Architects

Spread the love

อาคารศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทความโดย คุณกัลยรัตน์ เอกสิทธิโชค

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในบริเวณของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นคือการมาอยู่รวมกันของอาคารหลายยุคหลายสมัย อย่างเช่นอาคารวังบางขุนพรหมนั้นมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบ Neoclassic ส่วนอาคารโรงพิมพ์ธนบัตรและอาคารสำนักงานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 และ พ.ศ. 2525 ตามลำดับ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ Tropical Modernism และในปี พ.ศ. 2550 อาคารสำนักงานหลังปัจจุบันก็ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิด Postmodernism โดยอ้างอิงถึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจากพระตำหนักในตัววัง การจะออกแบบปรับปรุงและต่อเติมอาคารท่ามกลางความหลากหลายทางสถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยทีเดียว

 ก่อนการปรับวังมาเป็นธนาคารกลางของชาตินั้นมีข้อจำกัดในประเด็นการอนุรักษ์และการรักษาความปลอดภัย ทำให้การออกแบบอาคารไม่สามารถเปิดพื้นที่เป็นสาธารณะได้ ภายหลัง ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องการบรูณะอาคารโรงพิมพ์ธนาบัตรให้เป็น “อาคารศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” ในวาระครบรอบ 75 ปี ของการก่อตั้งสถาบันนี้ขึ้น จุดประสงค์ของโครงการบูรณะนี้ เพื่อเปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้สาธารณะให้กับประชาชน เพราะการเป็นอาคารปิดเพื่อรักษาความปลอดภัยมาก่อน ทำให้คนไม่รู้ว่าจริงๆแล้วธนาคารแห่งประไทยมีหน้าที่และมีบทบาทความสำคัญยังไง โดยจะให้ความรู้กับผู้ใช้บริการทั้งในส่วนของความรู้ด้านการเงิน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ร้านกาแฟ เป็นต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้จัดการประกวดแบบทางสถาปัตยกรรมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 โดยมีสำนักงานสถาปนิก Creative Crews ซึ่งร่วมกับ Somdoon Architects เป็นผู้ชนะการประกวด

แนวคิดหลักในการออกแบบของ Creative Crews คือการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับใส่พื้นที่สาธารณะลงไปในอาคาร ด้วยพื้นที่ 26,500 ตารางเมตร บนพื้นที่ 11 ไร่ การใส่พื้นที่สาธารณะลงไปจะช่วยให้เกิดความมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และผู้ใช้งานโครงการ ไม่เกิดการแบ่งแยกหรือแยกตัวของพื้นที่, ปรับเปลี่ยน Facade ของอาคารเปลี่ยนภาพลักษณ์เก่าของอาคาร Postmodernism ไป การปรับผังการใช้งาน ให้ 1 ใน 3 ของส่วนโรงพิมพ์เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ เพื่อจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน เช่นผลงานทางศิลปะ เป็นต้น

ด้านหน้าทางเข้าโครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย การวางผังของอาคารสำนักงานสูง 2 ชั้นเป็นทางเข้าหลัก จะมีอาคารปฏิบัติการสูง 5 ชั้นวางอยู่ด้านหลัง และอาคารปฏิบัติการสูง 5 ชั้น ที่วางต่อจากอาคารโรงพิมพ์เข้ามาทางด้านหลัง

ลานด้านหน้ามี amphitheater และ บันไดยกระดับขึ้นไปตัวอาคาร ทั้งสองด้าน มุมสามารถมองเห็นตัวอาคารและสะพานพระราม 8 ที่อยู่ด้านขวามือได้ด้วย

มองจากทางเดินด้านหน้าอาคารปฎิบัติการณ์ 5 ชั้น มองเห็นอาคารสำนักงาน 2 ชั้น บันไดเหล็ก และ ด้านขวามือเห็นลานกิจกรรมแบบเปิด บริเวณชั้น 2 ของอาคาร รวมทั้ง แม่น้ำเจ้าพระยา

การออกแบบลวดลายบนบันได

Detail ลูกตั้งของบันไดเป็นเว้นลึกเข้าไปคล้ายทรงหลังคา Barrel vault หั่นครึ่ง

Detail ราวจับบันไดทางขึ้น

ในส่วนของตัวอาคารปฎิบัติการณ์สูง 5 ชั้น ปรับปรุงส่วน facade ด้วยตระแกรงเหล็กฉีก เพื่อกรองแสงที่จะเข้าตัวอาคาร และ ระบายอากาศ ข้างในอากาศไม่เย็นไม่ร้อนมาก ยิ่งไปกว่านั้นคือการเพิ่มลูกเล่นและจังหวะการวาง Pattern ลวดลายของตัวตระแกรงเหล็กฉีกด้วยขนาดที่แตกต่างกัน

สังเกตดีๆแล้วตัวตระแกรงเหล็กฉีกจะเป็นโทนสีฟ้าอ่อน กับ น้ำตาล ตอนที่เข้าไปดูด้านใน พี่พนักงานด้านในให้ข้อมูลว่า สีน้ำเงิน และ สีฟ้าอ่อน เป็นสีประจำของธนาคาร และความตั้งใจของสถาปนิกที่จะให้สีผิวคอนกรีตและตระแกรงเหล็กฉีกเป็นสีโทนนี้

 ภาพตระแกรงเหล็กฉีกมองจากด้านใน

มีการวางระบบไฟไว้ด้านนอกของอาคาร ถัดเข้ามาเป็นตัวตระแกรง

ด้านในมีบันไดเหล็กเพื่อขึ้นไปด้านบนห้องสมุด มีการจัดแสดงเรือด้านใน เป็นด้านอาคารที่หันเข้าทางทิศเหนือ
ที่ตัวอาคารสำนักงาน 2 ชั้นเก่าด้านหน้าของอาคารปฎิบัติการณ์ 5 ชั้นที่หลังคาคอนกรีตโครงสร้างรูปไข่ หรือ Barrel vault แบบซ้อนกัน เพื่อกันไม่ให้น้ำรั่วซึมและความร้อนเข้าตัวอาคาร
สะพานเหล็กมองจากลานอาคารสำนึกงานชั้น 2
ลานกิจกรรมที่ชั้น 2 บริเวณอาคารสำนักงาน เห็นใต้หลังคาเป็นสามเหลี่ยมเพราะหลังคาเป็น Barrel vault วันที่ไปมีการจัดการแสดงผลงานของศิลปิน
ลานกิจกรรมที่ ชั้น 2 ที่จัดงานแสดงผลงานของศิลปิน ALEX FACE มาจัดแสดง ด้านขวาจะมองเห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยา

มองเห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยาและสะพานพระราม 8 กระจกเป็นสีเข้ม ทำให้สะท้อนเอาบรรยากาศจากด้านนอกเข้ามาไว้ในอาคาร

Corridor หน้าอาคารสำนักงาน เปิดมุมมองริมแม่น้ำ แสงตกกระทบพาดกับตัวอาคารเกิดเงาชัดเจน
ลงมาลานด้านล่างติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เห็นมุมแม่น้ำและสะพานพระรามแปด จะเห็นคนออกมาเดินออกกำลังกายกันบนสะพานพระรามแปดเยอะมากเพราะสะพานเชื่อมต่อไปสวนสาธารณะฝั่งตรงข้าม ทำให้เกิดการออกแบบในส่วนของ facility ต่างๆบริเวณลาน เช่น ร้านกาแฟ ลานนั่งพักริมน้ำ เข้ามารองรับการคนที่เดินสัญจรมาจากสะพานพระรามแปด
ลานนั่งพักริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชั้นล่างจะเป็นร้านกาแฟ จะเป็นด้านที่มองเห็นหลังคา Barrel vault ได้ชัดเจน หากใช้ทางสัญจรทางเรือและสะพานพระรามแปดมา
หลังคา barrel vault
Facade และหลังคา barrel vault

มีศาลพระภูมิที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับรูปแบบตัวอาคารอาคารศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทยขนาดย่อส่วนเลย แสดงความใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อยที่ดีของดีไซเนอร์

ลานด้านหน้าทางเข้า กับ ลานยกระดับ ดีเทลการออกแบบ Hardscape ของพื้นลานที่ยกระดับที่เจาะตัวร่องพื้นเป็นเส้นต่อเนื่องกัน ฝาท่อระบายน้ำ ทะลุไปถึงด้านล่างเพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา

ฝาท่อระบายน้ำบริเวณลาน และ บันไดทางขึ้น
ลายลายของพื้นลาน สังเกตเห็นว่าเป็นรูปทรงไข่แบบเดียวกับตัวโครงสร้างหลังคารูปไข่

ปลูกต้นหญ้าและจัดส่วนกรวดหินไว้สำหรับงาน Softscape

ลงจากบันไดลานจะมีร้านกาแฟ ร้านขายของที่ระลึก และหอจดหมายเหตุที่ชั้นล่างลานโล่ง
มีพื้นที่นั่ง ไว้อ่านหนังสือและนั่งดื่มกาแฟ ตัวด้านในโชว์โครงสร้างงานระบบต่างๆเอาไว้ ค่อนข้างเป็นระเบียบ เข้ากับตัวพื้นที่เป็นคอนกรีตขัดมัน

และมี indoor amphitheater กิจกรรมด้วย

เดินมาทางเดินด้านขวาของ Indoor amphitheater จะมีบริเวณจัดแสดงกิจกรรม และ ผลงานด้านใน

เดินต่อมาเรื่อยๆจะ บันไดขึ้นไปส่วนบริการชั้นบน ทางด้านขวาเป็นลานคอมพิวเตอร์จัดไว้ให้คนหาข้อมูลต่างๆ ด้านซ้ายเป็นบันไดเพื่อขึ้นไปชั้นบน ตรงไปเป็นห้องน้ำและห้องงานระบบ

ภาพยืนบนบันได มองขึ้นไปบนฝ้า จะโชว์ท่องานระบบต่างๆ มีการจัดคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้บริการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเงินผ่านคอมพิวเตอร์ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เช่น การออมเงิน การคำนวณค่าใช้จ่ายและการเตรียมพร้อมหลังเกษียณอายุ เป็นต้น
ทางเดินหน้าห้องน้ำ มีการออกแบบสัญลักษณ์สำหรับห้องน้ำไว้ ติดกับห้องงานระบบต่างๆ เดินออกไปจะด้านขวาจะเป็นลิฟต์และบันไดหลักของอาคาร ด้านซ้ายเป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับการเงินผ่านคอมพิวเตอร์

บันไดทางขึ้นไปชั้นบนส่วนห้องสมุดที่เปิดให้บริการ เป็นผนังปูนขัดมัน รับกับระเบียงราวจับเป็นเหล็กกล่องเชื่อม สังเกตว่าตรงลูกนอนบันไดของอาคาร จะเป็นเหล็กแบบ flat bar เล็กๆ วางสองชิ้น เป็นจมูกบันไดกันลื่น

หน้าโถงลิฟต์จะมีรูปแปลนของตัวอาคารบอกตำแหน่งอาคารหนีไฟเอาไว้

น่าเสียดายที่ไม่ได้เข้าไปในส่วนของห้องสมุด จึงไม่มีรูปในส่วนด้านในของอาคาร หากมีโอกาสแนะนำให้ลองไปใช้บริการนะคะ ถ้าใครสนใจอยากดูรูปผลงานและข้อมูลเพิ่มได้ก่อน สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ Creative Crews ได้ที่นี้ค่ะ http://creative-crews.com/project/bot-learning-center/

ขอขอบคุณ คุณกัลยรัตน์ เอกสิทธิโชค, บริษัท CHAAN สำหรับบทความนี้ด้วยครับ

Bank of Thailand Learning Center (BOT)
Timeline: 2014 – Completed in 2017
Location: Bangkok, Thailand
Area: 26,500 sq.m.
Construction Budget: 477 Million THB
Client: Bank of Thailand
Team:  Creative Crews Team
Collaborators: Somdoon Architects Ltd. (Project Director – Competition Stage : Punpong Wiwatkul) Shma Co., Ltd. / Africvs Co., Ltd. / Architectkidd Co., Ltd. / Assistant Professor Dr. Pirasri Povatong / Be Lit Co., Ltd. / Beca Warnes Thailand Co., Ltd. / Design Lab NLSS Co., Ltd. / GEO Design & Engineering Consultant Co., Ltd
 

 


Spread the love