สถาปัตยกรรมดินในประเทศไทยจัดมีน้อยมาก เนื่องจากการใช้ดินสร้างสถาปัตยกรรมไม่เหมาะกับเมืองร้อนชื้นที่มากไปด้วยฝน เราจะสามารถพบสถาปัตยกรรมดินมากในแถบที่ฝนตกน้อย แต่เสน่ห์ของดินที่มีความงามแบบสัจจะจากเนื้อวัสดุ แค่เพียงความงามดิบเรียบง่ายของดินสามารถทำให้สถาปนิกเลือกที่จะใช้ในงาน และเทคนิคก่อสร้างที่น่าสนใจอีกแบบที่เป็นริ้วลายของการก่อสร้างจากการอัดดินทีละชั้นของผนังดินอัด (rammed earth) ทำให้สถาปัตยกรรมมีความน่าสนใจขึ้นมากกว่าวัสดุอุตสาหกรรมทั่วไปได้
Continue reading
Category Archives: Landscape
ไอเดียการปรับภูมิสถาปัตย์ (Landscape) เชิงอนุรักษ์
เรื่อง/ภาพ: ภาณุ เอี่ยมต่อม
คำกล่าวที่ว่า “ตัวตนของเรา เป็นสิ่งที่ถูกส่งต่อมาจากอดีต” หรือ ”อดีตสร้างปัจจุบัน และ ปัจจุบันสร้างอนาคต” เป็นคำกล่าวซึ่งแสดงให้เห็นถึงสาระของการส่งผ่านและการเชื่อมต่อของบางสิ่งในระหว่างช่วงเวลา รวมถึงผลที่ตามมาจากสิ่งที่เราทำ หรือความสำคัญของกระบวนการในการก้าวข้ามผ่านกาลเวลา
คงไม่ได้มีหลายองค์กรนัก ที่จะยืนหยัด ฝ่าฟัน ปัญหา อุปสรรค จนสามารถสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะเติบโต ขยาย กิ่งก้านสาขา ผ่านเวลามานับร้อยปี และการที่จะเป็นเช่นนั้นได้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่จะต้องเกิดจากความเหมาะสมลงตัวขององค์ประกอบหลายๆ ด้าน ทั้งการมีบุคลากรที่มีคุณภาพ หลอมรวมกับวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง หรือต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน สร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยเจตจำนงของการส่งต่อคุณค่า จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่น สิ่งเหล่านั้นนอกจากจะบอกได้ถึงเค้ารางและภาพลักษณ์ของเอสซีจี (เครือซิเมนต์ไทย) แล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจ และแนวความคิดในการออกแบบ ที่ถูกถ่ายทอดออกมาสู่งานภูมิสถาปัตยกรรม ของอาคารสำนักงานใหญ่3ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
Continue reading
สถาปัตยกรรม น้ำและศิลปะ Kyoto Garden of Fine Arts
แม้ว่า Tadao Ando จะเป็นสถาปนิกที่ได้ชื่อว่าผลิตผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมออกมาเป็นจำนวนมากที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่น และมีสำนักงานตั้งอยู่ที่โอซาก้าซึ่งอยู่ใกล้กันกับเมืองเกียวโต แต่ Ando ก็ไม่ได้มีผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมในเกียวโตมากนัก โครงการ Kyoto Garden of Fine Arts เป็นหนึ่งในผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมเพียงไม่กี่ชิ้นของ Ando ที่เกียวโต โครงการพื้นที่แสดงงานศิลปะกลางแจ้งแวดล้อมไปด้วยน้ำแห่งนี้จัดแสดงผลงานจิตรกรรม reproduction บนแผ่นเซรามิกจากหลากหลายยุคสมัย โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Kyoto Prefectural Government ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1994 หากเรามองโครงการนี้จากฝั่งถนน Kitayama แทบจะมองไม่เห็นร่องรอยของตัวอาคารเลย Ando ฝังพื้นที่อาคารทั้งหมดลงไปใต้ดิน มีเพียงกำแพงปูนเปลือยและแผงกำแพงกระจกขนาดใหญ่เท่านั้นที่โผล่พ้นระดับพื้นดินขึ้นมา เหตุผลหนึ่งก็อันเนื่องจากบริเวณที่ตั้งของ Kyoto Garden of Fine Arts นั้นอยู่ใกล้กันกับสวนพฤกษศาสตร์เมืองเกียวโต Ando ไม่ต้องการให้อาคารที่เขาออกแบบไปบดบังทัศนียภาพอันสวยงามระหว่างตัวสวนพฤกษศาสตร์กับภูเขา
สวนมิ่งมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา
งานสวนมิ่งมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ออกแบบงานสถาปัตยกรรม อินทีเรีย แลนด์สเคปโดย 49 group ยกเว้นส่วนของบ้านตัวอย่างที่เปลือกเป็นซี่ๆแบบ random ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย ครับ
ขอขอบคุณแอดมินแขกสำหรับรูปชุดนี้ด้วยครับ