จากคราวที่แล้วที่พาไปชม Apple Park Visitor Center วันนี้เราไปชมค่ายคู่แข่งกันบ้าง งานนี้เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของ Samsung America ออกแบบโดย NBBJ งานนี้อยู่ในเมือง San Jose ในตอนเหนือของรัฐ California
Category Archives: Office
16 ปีกว่าจะได้สร้างเสร็จ Pterodactyl โดย Eric Owen Moss
ผมเห็นโมเดลงานนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2001 ในนิทรรศการเกี่ยวกับสถาปนิกในแอลเอหลายๆท่าน ซึ่ง Eric Owen Moss ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตอนนั้นผมก็รู้สึกตื่นเต้นกับงานนีพอสมควร และอยากที่จะได้เห็นมันได้สร้างจริงๆ เพราะเห็นว่าทั้งโปรแกรมและรูปทรงของงานนี้มันน่าสนใจดี คือเป็นอาคารที่จอดรถเรียบๆง่ายๆด้านล่างเป็นหลัก แต่มี mass รูปทรงแปลกๆมาแปะอยู่ข้างบนให้มันดูตัดกัน หลายครั้งที่แวะเวียนผ่านมาแถวๆอาคารนี้ก็เห็นแต่ส่วนที่เป็นที่จอดรถที่ได้สร้าง ก็เลยคิดว่าเจ้าของโครงการเขาคงล้มเลิกความคิดตรงส่วนอาคารข้างบนไปแล้วมั้ง มารู้ข่าวอีกทีมันก็สร้างเสร็จแล้ว รวมระยะเวลาจากที่เขาออกแบบจนถึงสร้างเสร็จก็ประมาณ 16 ปีได้ครับ (1999 – 2015)
สำนักงานธัญสุวรรณไลท์ โดย ปริญญา สมบัติวัฒนกุล, ศักย์รพี สืบแสง
“เถียงนา หรือห้างนา” สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวนา กับภาพชินตาที่เห็นระหว่างเดินทางเสมอ ถูกนำมาร้อยเรียง เป็นภาษาสมัยใหม่ให้กับท้องถิ่นนั้น และคือที่พักของชาวนาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อยามร้อนก็สามารถอาศัยเป็นที่หลบแดด เพื่อคลายร้อน เมื่อยามนำ้หลากก็ยังใช้เป็นที่พักอาศัยได้ด้วยการยกใต้ถุนสูง ซึ่งแสดงออกทางโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา เถียงนา หรือห้างนา จึงถือเป็นสถาปัตยกรรมท่ามกลางบริบทของ นำ้ เนิน ทุ่ง ที่เคียงคู่กับวิถีชีวิตของชาวนาในสังคมชนบท
UCD โดย Atelier of Architects
โครงการนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าของกลุ่มอาคารโรงงานเก่าของบริษัทแสงไทยผลิตยาง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนปู่เจ้าสมิงพรายซึ่งเป็นย่านอุตสาหกรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพ และอาคารสำนักงานใหญ่โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรีเอนจิเนียริ่งองค์กรของบริษัท โดยแนวความคิดในการออกแบบนั้นเกิดมาจากการประกอบกันของแมสที่มีลักษณะคล้ายกับยางสองชิ้น ซึ่งชิ้นหนึ่งนั้นถูกดัดและนำมาล็อกกับอีกชิ้นหนึ่ง แมสทั้งสองชิ้นนี้ได้ทำให้เกิดรูปทรงซึ่งเป็นโครงสร้างคอนกรีตและโครงสร้างเหล็กที่สานเข้าด้วยกันตรงผิวของอาคาร ซึ่งช่วยรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารไปในตัว
Zonic Vision by Stu/D/O Architects
เมื่อสถาปัตยกรรมได้ทำหน้าที่คุ้มแดดฝนเป็น 1 ในปัจจัย 4 ของมนุษย์แล้ว หน้าที่ของสถาปัตยกรรมถูกเพิ่มเป็นผู้เสนอความงามของวิถีชีวิต บอกเรื่องราว คติความเชื่อของสังคมในบริบทที่ตัวเองถูกก่อรูปขึ้น เรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังการก่อรูปถูกแปลความออกมาในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งส่วนประดับ โครงสร้าง จวบจนโลกสถาปัตยกรรมล่วงเข้าสู่ปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อสถาปัตยกรรมถูกมองผ่านที่ว่าง การตีความเรื่องราวของสถาปัตยกรรมจึงแสดงออกผ่านที่ว่างมากขึ้น เนื่องจากโลกของสถาปัตยกรรมตะวันตกก่อนหน้านี้ไม่ได้ตระหนักถึงที่ว่าง แต่การตีความทางสถาปัตยกรรมผ่านที่ว่างยังยากต่อการรับรู้สำหรับผู้ที่ไม่ใช่สถาปนิก ความพยายามของสถาปนิกที่ต้องการสื่อสารถึงตัวตนผ่านสถาปัตยกรรมให้ชัดเจนจึงใช้ตัวเลือกอื่นมากกว่าการสื่อสารด้วยที่ว่างเพียงอย่างเดียว
Continue reading
NOW26 by architectkidd
โปรแกรมของ NOW26 คือการปรับปรุงตึกแถวเก่าในสยามสแควร์ให้เป็นสถานีโทรทัศน์ในเครื่อเนชัน แนวคิดคือการสะท้อนความโปร่งใสเพื่อสื่อถึงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร แต่เนื่องจากพื้นที่ภายในเป็นห้องถ่ายทำที่ต้องการแสงน้อยจึงปิดทึบส่วนใหญ่ วิธีแก้ปัญหาคือการสร้างเปลือกจากท่อเหล็กหุ้มให้ดูโปร่งแทน โดยสถาปนิกได้รับแรงบันดาลใจจากท่อสายไฟที่โค้งตามการใช้งาน
A Day in Monolith : Studio MITI
สำนักงานสถาปนิกสตูดิโอมิติ
เรื่องและภาพ : สาโรช พระวงค์
ในโลกของสถาปัตยกรรมมีวิวัฒนาการด้านวัสดุมานานนับหลายพันปี ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมได้บอกว่ารูปทรงของสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามวัสดุเสมอ ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับการค้นพบใหม่ของนักประดิษฐ์ หรือการดัดแปลงใช้วัสดุของสถาปนิก ตั้งแต่ศตวรรษที่20เมื่อโลกเราเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ โลกตะวันตกได้นำมาซึ่งความนิยมในวัสดุสมัยใหม่ตามความเชื่อของเหล่าโมเดิร์นนิสต์อย่าง เหล็ก กระจก คอนกรีต แต่บางวัสดุที่มีการสืบทอดองค์ความรู้กว่าพันปีกำลังคืบคลานพัฒนาตัวเองอยู่กับความสมัยใหม่ และพัฒนาตัวเองสู่ภาษาสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างมั่นใจด้วยสถาปนิกยุคต่อมา
Continue reading