The Last Act of Design โดย Christ & Gantenbein

นิทรรศการ ‘The Last Act of Design’ โดย Christ & Gantenbein 2 คู่หูสถาปนิกจากสวิสเซอร์แลนด์ งานที่เริ่มสร้างชื่อให้พวกเขาคือ Kunstmuseum ที่ Basel เอกลักษณ์ของ drawing ชุดนี้ ให้ความรู้สึกว่ามันเรียบแบบงานสวิส แต่มีจังหวะที่งาม งานนี้มีแต่สีน้ำเงิน และ ขาว ดำ เทา ก็น่าสนใจมากทีเดียว

งานจัดที่หอศิลป์ของ Kyoto Institute of Technology ช่วง 5- 20 เม.ย. 62
ถ้าสนใจชมงานเพิ่มเติมสามารถเข้าไปชมได้ที่เว็บของเขาได้ ที่นี่ ครับ

ขอขอบคุณแอดมินแขกสำหรับรูปชุดนี้ด้วยครับ

Drawings and Sketches by Mayumi Miyawaki

พาไปชมนิทรรศการ Drawings and Sketches ของสถาปนิกญี่ปุ่น Mayumi Miyawaki ที่หอศิลป์ของ Kyoto Institute of Technology กันครับ
Mayumi Miyawaki จบการศึกษาปริญญาตรีที่ Tokyo National University of Fine Arts and Music ในปี 1959 และปริญญาโททาง urban design ที่ University of Tokyo ในช่วงปลายยุค 60s ถึงยุค 70s เขาได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหมู่บ้านญี่ปุ่นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในปี 1971เขาได้ก่อตั้งกลุ่มที่ไปในทางตรงกันข้ามกับกลุ่ม Metabolist (Counter-Metabolist)ที่มีชื่อว่า ARCHITEXT ขึ้นมา โดยร่วมกับสถาปนิกอีก 4 คนคือ  Aida Takefumi, Azuma Takamitsu, Suzuki Makoto, Takeyama Minoru
งานออกแบบของ Mayumi Miyawaki นั้นจะมีเอกลักษณ์ในการเล่นรูปทรง cubic เน้นการใช้สีสันที่สดใส ช่องเปิดและ skylight ที่น่าสนใจ รวมไปถึงการทำให้ interior space นั้นมีความรู้สึกอบอุ่น

ขอขอบคุณแอดมินแขกสำหรับรูปชุดนี้ด้วยครับ

Continue reading

Sou Fujimoto Exhibition ที่ Japan House

พูดถึงสถาปนิกญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆที่มีชื่อเสียง Sou Fujimoto ก็คงเป็นชื่อหนึ่งที่หลายๆท่านนึกถึง วันนี้ผมได้มีโอกาสไปชมนิทรรศการของเขาที่ Japan House Los Angeles ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์เผยแพร่นวัตกรรมของญี่ปุ่นทั้งทางด้านเทคโนโลยี ศิลปะ การออกแบบ และอื่นๆ โดยคราวนี้เขาได้นำโมเดลและภาพของโปรเจคต่างๆของ Fujimoto มาแสดงกว่า 100 ชิ้นครับ

Continue reading

พาชมนิทรรศการ Japan in Architecture ที่ Mori Art Museum

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมามีโอกาสได้แวะไปชมนิทรรศการ Japan in Architecture ที่ Mori Art Museum เลยเก็บภาพมาฝากกันครับ วันที่ไปชมนั้นแม้จะเป็นช่วงเย็นๆของวันอาทิตย์ แต่คนที่เข้ามาชมนิทรรศการเยอะพอสมควร ส่วนตัวแล้วผมสนใจงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมากทีเดียว เพราะสงสัยว่าเขาทำอย่างไร ถึงแม้งานจะทำออกมาโมเดิร์น แต่ก็ยังมีความเป็นญี่ปุ่นให้เห็นได้อย่างชัดเจน แล้วสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของไทยเรา จะมีวิธีแสดงออกมาได้อย่างไรบ้าง ซึ่งมักจะเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างสถาปนิกไทยอยู่เรื่อยๆ

นิทรรศการนี้พูดถึงการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน โดยเขาแบ่งนิทรรศการออกเป็น 9 ส่วน แต่ละส่วนจะพูดถึงแง่มุมที่แตกต่างกันอย่างเช่น ความเป็นไปได้ในการนำไม้มาใช้ในสถาปัตยกรรม, หลังคาแห่งความเงียบสงบ, Hybrid Architecture, การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นต้น

Continue reading

Sci-Arc Spring Show 2018

กลับมาอีกครั้งกับนิทรรศการ Sci-Arc Spring Show 2018 ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานทีสิสของนักศึกษาปริญญาตรี และโปรเจคต่างๆของนักศึกษาทุกชั้นปีทั้งปริญญาตรีและโท งานที่นำมาแสดงก็มีความน่าสนใจในแบบของ Sci-Arc ไม่แพ้ปีก่อนๆ แต่ปีนี้อาจจะมีงานที่สีสันสดใสน้อยกว่าสองสามปีที่ผ่านมา แต่เรื่อง form และ skin ของงานก็ยังคงน่าตื่นตาตื่นใจเช่นเคย 

Continue reading

Glenn Murcutt : Architecture for Place Exhibition

พอดีแอดมินแขกของเราได้มีโอกาสไปชมนิทรรศการ Glenn Murcutt สถาปนิกชาวออสเตรเลียผู้ได้รับรางวัล Pritzker ในปี 2002 ที่จัดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลยเก็บภาพมาฝากกันครับ

Glenn Murcutt : Architecture for Place – Thinking Drawing / Working Drawing 

นิทรรศการ Glenn Murcutt : Architecture for Place จัดแสดงระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน 2561 ณ อาคาร KMUTT Knowledge Exchange for Innovation Center (KX) ชั้น 8
 
จัดเสนอโดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์ ร่วมกับ Architecture Foundation Australia ด้วยการอุปถัมภ์จาก  TOTO และ GALLERY MA, Tokyo
 
Photography:  Xaroj PHRAWONG 

Sci-Arc Master Thesis 2017

วันนี้ได้มีโอกาสไปชมการพรีเซ็นต์งานของนักศึกษาปริญญาโทที่ Sci-Arc เลยเก็บภาพผลงานและบรรยากาศมาให้ชมกันเช่นเคยครับ ผลงานในปีนี้ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้ปีก่อนๆ มีหลายงานที่มีไอเดียมาจากขนสัตว์ หรือไม่ก็ดอกไม้ งานที่ลงไปในรูปที่สองข้างบนก็เป็นงานที่พรีเซ็นต์โดยมีการนำ Augmented Reality มาใช้ ด้วยการถ่ายโมเดลด้วยไอแพดและใช้แอพ Vuforia เป็นตัวเพิ่ม texture บนตัวอาคาร และมีคนเดินไปเดินมา นกบินอยู่บนจอเป็นต้น

Continue reading