พูดถึงสถาปนิกญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆที่มีชื่อเสียง Sou Fujimoto ก็คงเป็นชื่อหนึ่งที่หลายๆท่านนึกถึง วันนี้ผมได้มีโอกาสไปชมนิทรรศการของเขาที่ Japan House Los Angeles ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์เผยแพร่นวัตกรรมของญี่ปุ่นทั้งทางด้านเทคโนโลยี ศิลปะ การออกแบบ และอื่นๆ โดยคราวนี้เขาได้นำโมเดลและภาพของโปรเจคต่างๆของ Fujimoto มาแสดงกว่า 100 ชิ้นครับ
ตรงด้านหน้า Fujimoto เขาบอกว่างานสถาปัตยกรรมนั้นมีอยู่ทุกที่ มันเป็นสิ่งที่ถูกค้นหาเจอก่อน หลังจากนั้นถึงถูกสร้างขึ้นมา อย่างที่คนสมัยก่อนอาศัยอยู่ในถ้ำในป่าเป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้เราค้นหาที่อยู่อาศัยของเราท่ามกลางสิ่งต่างๆที่เราต้องพบเจอในป่าคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นมา และการค้นหาแบบนี้นำเราไปสู่การกำเนิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่
ในนิทรรศการนี้เขาต้องการที่จะแสดงถึง concept ที่เรียกว่า ‘Found Architecture’ (ประมาณว่าสถาปัตยกรรมที่ถูกหาเจอขึ้นมา) โดยการวางโมเดลคนเล็กๆอยู่ข้างๆวัตถุทั่วไปที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งตอนแรกมันอาจจะดูเหมือนเป็นความบังเอิญ แต่เมื่อดูไปสักพักเราจะเริ่มเห็นวัตถุเหล่านี้ว่ามันเป็น space ในทางสถาปัตยกรรมได้ ความแตกต่างกันทางสเกลในการจับคู่ของสองสิ่งนี้เป็นความบังเอิญที่โชคดี และเป็นเหมือนการนำร่องไปสู่สถาปัตยกรรมในรูปแบบใหม่ ใน concept นี้มันควรจะมีบทสนทนาพื้นฐานระหว่าง การถูกค้นพบโดยความบังเอิญ กับ การสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยเจตนา
สถาปัตยกรรมสามารถที่จะมาเป็นสิ่งที่เป็นรูปร่างได้จากอะไรก็ได้ การสนับสนุนสิ่งที่น่าจะสถาปัตยกรรมได้ให้กลายมาเป็นสถาปัตยกรรมจริงๆ ก็เป็นงานสถาปัตยกรรมเช่นกัน
อ่านข้างบนแล้วอาจจะงงๆ (ผมเองพิมพ์ไปยังงงเอง) ดูรูปนี้เป็นตัวอย่างครับ มันฝรั่งเอามาวางดีๆมันก็อาจจะดูเหมือนเป็นงานสถาปัตยกรรมได้
หรือจะมาจากลูกแม็กเย็บกระดาษ
เอาเก้าอี้มาต่อกันจะเป็นสถาปัตยกรรมได้ไหม (ปล. แมลงวันตัวนั้นเป็นของจริง ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโมเดล)
ถ้ำกลายมาเป็นสถาปัตยกรรม หรือ แค่ที่เขี่ยบุหรี่อันหนึ่ง
ฟองน้ำล้างจานก็สามารถมาเป็นสถาปัตยกรรมได้?
อนาคตที่หลากหลายของอนาคต ประมาณว่า การสร้างงานสถาปัตยกรรมนี้ก็เหมือนกับการปลูกเมล็ดแห่งอนาคต คือเขาต้องการที่จะสร้างงานสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบอะไรที่เล็กๆ ที่จะเป็นแรงบันดาลใจหรือให้เห็นความเป็นไปได้ที่ไม่รู้จบสำหรับสถาปัตยกรรมในอนาคต
โมเดลของ Museum ในเยอรมัน
อันนี้เป็นโมเดลที่ใหญ่ที่สุดในนิทรรศการนี้ งาน Beton Hala Waterfront Center ที่ Belgrade, Serbia
งาน Museum ที่เมือง Tainan
โมเดลงานห้องสมุดและ museum ของ Musashino Art University ใน Tokyo
รูปถ่ายของงานนี้ครับ
งาน House of Music ที่เมือง Budapest, Hungary
ดูเผินๆไม่รู้ว่างงานนี้คือป้ายรถเมล์
งานบ้านหลังนี้เป็นงานแรกๆที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จัก
บ้านเหมือนชั้นวางหนังสือ หรือชั้นวางหนังสือที่ดูเหมือนบ้าน?
conceptual model แรกๆของงาน Serpentine Pavilion
พัฒนากลายมาเป็นแบบนี้
สุดท้ายกลายมาเป็นแบบนี้
เขาว่าถ้าจะทำอันนี้ให้เป็นงานสถาปัตยกรรมได้คงต้องใช้เวลาอีกสิบปี
เก็บภาพบรรยากาศของนิทรรศการในแบบ 360 องศามาด้วย (ใช้นิ้วหรือเม้าส์คลิ๊กเลื่อนรูปไปทางซ้ายขวาได้) ดูรูปเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ครับ
งานนิทรรศการของ Fujimoto ครั้งนี้จัดได้อย่างดีและมีงานที่น่าสนใจเยอะทีเดียว ผมชอบตรงโมเดลเล็กๆที่เขาตั้งคำถามให้ได้คิดต่อว่ามันจะเป็นอะไรได้บ้าง หวังว่าจะได้ไอเดียอะไรสำหรับงานสถาปัตยกรรมชิ้นใหม่ที่ผู้อ่านจะออกแบบบ้างนะครับ Gallery ด้านล่างก็มีรูปเพิ่มเติมอีกเยอะพอสมควร เชิญเลือกชมได้เลยครับ ว่าแล้วผมต้องไปเดินสำรวจข้าวของเครื่องใช้ในบ้านซะหน่อย ว่ามีอันไหนพอที่จะเอามาดัดแปลงได้ในโปรเจคต่อไป