Home
Featured Projects
Photo Gallery
Articles
Links
About us

   

วันนี้พอดีได้มีโอกาสไปรับฟัง lecture ของ Jun Aoki สถาปนิกญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในยุคนี้ที่คณะสถาปัตย์ของ UCLA มาเลยนำภาพและเรื่องราวมาฝากกันเล็กน้อย เนื่องจากวันนี้ลืมเอาเครื่องอัดเสียงไปด้วย เลยไม่มีไฟล์เสียงให้ดาวน์โหลดกันนะครับ ดังนั้นคำประกอบภาพส่วนใหญ่จึงมาจากความจำของผมกับ note นิดๆหน่อยๆที่ผมจดไว้ ซึ่งอาจจะมีข้อผิดพลาดไปบ้าง ก็ขออภัยไว้ล่วงหน้าแล้วกันครับ


slide แรกของ Aoki เป็นรูปปลาซึ่งมีรูปร่างและผิวที่ดูแล้วกลมกลืนกับปะการังรอบๆ ดูเหมือนเขาจะมีความสนใจระหว่าง ความกลมกลืนกับบริบท กับ ความแปลกแยกจากบริบท (เขาใช้คำว่า conspicuous กับ inconspicous)


บ้านที่เขาออกแบบจะมีชื่อเป็นตัวอักษร A-Z


แถวแรกเป็นบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แถวที่สองถ้าจำไม่ผิดเป็นงานที่ยังไม่ได้สร้าง ส่วนแถวที่สามเป็นงานที่กำลังสร้างอยู่ (ไม่ค่อยแน่ใจครับ) เขาพูดเล่นๆว่าถ้าสร้างครบ 26 หลังแล้วเขาก็จะเลิกออกแบบบ้าน เพราะใช้ตัวอักษรครบหมดแล้ว (ฮา)


เริ่มจากงานแรก บ้าน N เขาว่าบริบทหรือ context ของบ้านนี้ก็เป็นบ้านอื่นๆที่มีหลังคาและหน้าตาคล้ายๆกันไปหมด


งานนี้เขาคงไม่อยากทำให้แปลกแยกกับบริบท ด้านหน้าก็เลยออกแบบให้มีหลังคาเหมือนบ้านข้างๆ


แต่ด้านหลังนั้นแปลกออกไป


ส่วนด้านหน้านั้นใช้เป็นพวกห้องนอน


ด้านหลังใต้ terrace ตรงนี้เป็นส่วน living dining ของบ้าน


section จะเห็นได้ว่า space ส่วน living ที่อยู่ใต้ดินจะใหญ่มาก เทียบกับส่วนนอนจะเล็กมากเช่นกัน (ถ้าไม่เห็นพยายามเพ่งอีกนิดครับ :-)


space ส่วน living


space ส่วน living


space ตรงส่วนห้องนอน


space ตรงส่วนห้องนอน


เขาบอกว่าอยากให้ส่วนห้องนอนนี้เป็นเหมือนบ้านตุ๊กตา


ดูจากคนที่อยู่ในบ้านจะเห็นได้ว่าบ้านมันเล็กดูคล้ายๆกับบ้านตุ๊กตาอย่างที่เขาคิด เขาอยากให้มันเกิดการตัดกันระหว่างความใหญ่ของส่วน living กับความเล็กของส่วนนอน


งานต่อมาเป็นบ้าน G


งานนี้อยู่ในโตเกียว ซึ่งรอบๆเป็นอาคารที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างจะแน่นขนัด เขาก็ได้เริ่มทำ study model


เขาว่าทำโมเดล study ไป 100 อัน


และก็มาตกลงปลงใจกับอันที่ 100 อันนี้แหละครับ เนื่องจากอาคารรอบๆมันมีหลังคา ก็เลยทำอาคารนี้ให้มีหลังคาด้วย


เอากระดาษมาตัดเป็น study model เพิ่มเติม


พับๆๆๆ


เสร็จแล้วเป็นอย่างนี้


ทีนี้เขาอยากให้มี skylight


เนื่องจากความหนาแน่นของอาคารแถวๆนั้น ทำให้ภายในอาคารไม่ได้รับแสงสว่างมากเท่าที่ควร


เขาก็เลยมานั่งคิดว่าจะออกแบบ skylight อย่างไรดี


แบบนี้ดีไหม


หรือแบบนี้ดี


ไปๆมาๆก็มาจบที่แบบนี้


ด้านหน้าอาคารเป็นแบบนี้


เขาว่าขนาด skylight ก็เอามาจากขนาดหน้าต่างของบ้านที่อยู่ข้างๆนี้แหละ ส่วนสีก็ใช้สีเดียวกับอาคารข้างๆเหมือนกัน เพื่อให้มีการอ้างอิงถึงบริบท


space ภายในที่โปร่งโล่ง และได้แสงเต็มที่จาก skylight


บริเวณทานอาหาร


มองขึ้นไปบนหลังคา


ห้องใต้หลังคา


ด้านหน้าอีกรอบ


งาน Louis Vuitton ที่ Ginza บางท่านที่ติดตามงานของ Aoki จะทราบว่าแกเป็นขาประจำที่ออกแบบให้ Louis Vuitton มาแล้วหลายๆแห่งทั่วโลก


เขาก็ไม่ได้พูดอะไรมากนอกจากบอกว่าวัสดุภายนอกนั้นเป็น GRC (Glass fiber Reinforced Concrete) มีการเจาะช่องปรุๆให้แสงเข้าและออกมาได้ ส่วนขนาดของหน้าต่างนั้น ได้มาจากป้ายไฟโฆษณาของตึกข้างๆ นี่ก็เป็นการคิดถึงเรื่องบริบทแบบง่ายๆของ Aoki อีกแบบหนึ่ง :-D


งานถัดไปนั้นเป็นร้าน Louis Vuitton ที่ New York ซึ่งเป็นการดัดแปลงอาคารเก่าสมัย 1930


แกว่างานนี้ได้รับแรงบัลดาลใจมาจาก Hugh Ferriss นักวาดภาพ perspective และสถาปนิก


kingkong


ผลงานของ Ferriss ซึ่งดูแล้วนึกถึงภูเขา


งานนี้ Aoki อยากให้ดูเหมือนเป็น crystal


เขาเลยใช้กระจกที่มีpattern เหลื่อมๆกัน ทำให้เกิดเอฟเฟคที่มีบางส่วนที่ดูโปร่งและบางส่วนทึบ เบลอๆกันไป


เสร็จแล้วออกมาเป็นแบบนี้


งาน S.I.A. ที่ Aoyama เป็นอาคารสำนักงาน


เขาว่างานนี้ตั้งอยู่ในย่าน ที่เป็นรอยต่อของ residential area ทางด้านขวามือ กับ commercial area ทางด้านซ้ายมือ อาคารนั้นสูง 65 เมตร ดูเหมือนจะเป็นอาคาร 20 ชั้น แต่จริงๆแล้วอาคารนี้มีแค่ 9 ชั้นเท่านั้น แต่ละชั้นจึงมี space เป็นแบบ double space


facade ของอาคารนั้นดูเหมือนเขาจะเจาะช่องหน้าต่างแบบ random


เขาว่าเขามีความสนใจระหว่าง orderness กับ disorderness กระจกหน้าต่างที่ set เข้าไปนั้น นั้นจะลึกไม่เท่ากันทั้งหมด


เขายังบอกอีกว่าอยากให้อาคารนี้ดูเหมือนออกมาจาก freehand sketch ของสถาปนิก ผมว่าดูแล้วนึกถึงงานนึงของ SANAA ที่ยุโรปยังไงบอกไม่ถูก


ภายในเป็นอย่างนี้


แล้วเขาก็พูดถึงส่วนหนึ่งของหนังสือ "Learning from Las Vegas" โดย Robert Venturi ที่ว่าตึกใน Vegas นั้น ไม่สร้างรูปทรงหรือ form ที่สื่อให้เห็นตรงๆ(Duck) ก็ทำเป็นการตกแต่ง facade ด้านหน้าแล้วก็บอกกันตรงๆว่ามันคืออะไร (Decorated Shed) Aoki บอกว่า Architecture นั้นเป็นเหมือน code หรือ message ที่ต้องมีการสื่อสารบางอย่างแก่ผู้คน


งานนี้เป็นอาคารที่แกออกแบบเป็น experimental design ซึ่งไม่ได้สร้าง


เหมือนเขาต้องการจะศึกษาส่วนที่เป็น major space ของอาคาร กับส่วนที่ไม่ใช่ major space ของอาคาร (ฟังแล้วก็ยังงงๆเหมือนกัน)


ได้แนวความคิดมาจาก Mobius strip


โมเดล


โมเดล


งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ exhibit ใน art museum ใน Tokyo, Major space คือ space ที่อยู่ตรงกลาง แต่เขากลับสนใจส่วนที่ไม่ใช่ major space คือ space ซอกๆที่อยู่ด้านหลัง major space


ห้องตรงกลางเป็น major space แต่ตรงทางเข้านั้นเราจะเห็นซอกเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนของ Aoki


ภายในเป็นงาน installation ที่เขาเอาภาพดอกไม้ขยาย 400 เท่ามาปะผนังกับฝ้า


ต่อมาเป็น House O


เหมือนเขาว่าต้องการให้ space งานนี้ มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดระหว่าง major กับ minor space


ส่วน podium ของบ้าน มีการเจาะช่องลงไปด้านล่าง


เขาเปิด clip vdo ของงานนี้ให้ดู ประกอบกับเพลง Mr. Sandman (เพลงเก่าของ The Chordettes นะครับไม่ใช่ Enter Sandman ของ Metallica) ประมาณว่าเขาอยากให้ดูเหมือนงานนี้มันเบลอๆระหว่างโลกแห่งความจริง กับ โลกแห่งความฝัน สิ่งที่เป็นของจริง กับสิ่งที่เป็นของปลอม


VDO นี้เริ่มจากถ่ายมุมมองที่หมาน่าจะเห็น คือเป็นมุมต่ำๆก่อน เดี๋ยวก็ค่อยๆสูงขึ้นมา


เดินไปเดินมาภายในบ้าน


สนามหญ้าเป็นหญ้าจริง แต่ว่าไอ้ใบเขียวๆที่ขึ้นมาสูงๆนั้นเป็นของปลอมหรือพลาสติกนั่นเอง


หลังมุมมองเริ่มจะบินได้ ดูไปดูมาแล้วเริ่มเกิดอาการมึน


นั่นคงเป็นความต้องการของแก แล้วแกก็บอกว่าเมื่อวานเพิ่งไปเที่ยว Disneyland มา


ต่อมาเป็นงาน Aomori Museum of Art ที่เขาว่าเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทเขาเลย


เขาได้แนวความคิดมาจาก site ที่สำคัญทางโบราณคดีทางเหนือของญี่ปุ่น ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก (ถ้าฟังไม่ผิดนะครับ)


เขามีไอเดียที่จะสร้าง artificial trench หรือ ขุดเป็นร่องๆลงไป และก็มี space อีกก้อนหนึ่งคร่อมอยู่ ทำให้เกิด in between space ในรูปนั้นเป็นไอเดียที่เขียนเป็น section


ซึ่งเขาก็พยายามคิดว่าไอ้ section นั้นมันจะออกมาเป็นแปลนได้อย่างไร อันนี้คือแบบแรก


และก็มีการปรับแบบให้เหมาะกับ function ของอาคารมากขึ้น


สร้างเสร็จแล้วภายในออกมาเป็นอย่างนี้


in between space ที่เขาว่าไว้


ความแตกต่างระหว่าง space ภายใน space กับ space ระหว่าง space (ชักเริ่มงง)


เป็น space ที่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดของคนในรูป


ภายนอก เป็นสีขาว มีการเจาะหน้าต่างที่เป็นโค้ง ดูแล้วออกไปทางสถาปัตยกรรมดั้งเดิมหน่อย เขาว่าให้มันตัดกับอาคารที่ดูเรียบๆ


ตัวอาคารที่เห็นทางสีขาวๆนั้น ถ้าดูใกล้นิดหนึ่งจะเห็น pattern ของผนังก่ออิฐ


แล้วเขาก็โชว์ vdo clip ที่เป็น rendering แบบเรียบสุดๆของ space ภายในอาคาร

อ่านต่อภาคสอง

ท่านที่ต้องการพูดคุยเกี่ยวกับงานของ Aoki ในชุดนี้ เชิญ ที่นี่ ครับ

 
     

กรุณาส่งคำแนะนำมาที่ got_arch@yahoo.com

หน้าแรก | โปรเจค | แกลเลอรี่ | บทความ | ลิ้งค์ | เกี่ยวกับเรา