Home
Featured Projects
Photo Gallery
All Buildings
Articles
Links
About us
Interviews & Lectures
Book Reviews

   
Project : BB Clinic and Beauty Center
Location : Rangsit Pathumthani, Thailand
Architects : THstudio Architects : ศุภชัย ชัยจันทร์ , ดวงนภา ศิลปสาย in collaboration with
Housekeeper Studio : ไพศาล ปัญจพรผล , กฤษดา ลือลาง
Photos by : คุณสาโรช พระวงค์ [22 Photos]

การออกแบบอาคารหลังนี้เริ่มต้นจากพิจารณา Program กับ Site ที่มีลักษณะของความไม่สอดคล้อง (discordance) กันในบางมุม ซึ่งอาจเปรียบเหมือนรอยตำหนิ (deflect) บนใบหน้าของคน อันเป็นธรรมดาที่ทุกคน และทุกสิ่งย่อมไม่สมบูรณ์ (imperfect)

ด้วยเหตุนี้แนวคิดหลักในการออกแบบจึงเป็นการนำเสนอการปรับเปลี่ยน (change) แนวความคิดของการใช้พื้นที่ (space) จากเดิมที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ของตึกแถวเชิงพาณิชย์พักอาศัยริมถนน ที่ถูกยอมรับและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปี ดังจะเห็นได้จากสภาพบริบทแวดล้อม อย่างอาคารใกล้เคียงที่อยู่โดยรอบ สร้างการรับรู้และบรรยากาศของผู้คนในพื้นที่กับตึกแถว ซึ่งสะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิตในรูปแบบของการค้าขาย ขนาดย่อมๆ ที่เกาะขนานติดกับถนนด้านหน้าของอาคาร ตึกแถวเหล่านั้นที่ดูเหมือนจะยาวออกไปอย่างไม่จบสิ้นจนกลายเป็นภาพของความชินชาของคนผ่านไปมาทั่วๆไป

อาคาร BB CLINIC & BEAUTY CENTER สูง 4 ชั้น ขนาด 750 ตร . ม . ดำเนินธุรกิจศัลยกรรมความงาม และผิวพรรณ อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ย่านรังสิตบนถนนพหลโยธิน คลองหลวง บนปากทางเข้าหมู่บ้านไวท์เฮ้าส์ เงื่อนไขของการออกแบบอาคารหลังนี้ที่ได้รับจากเจ้าของโครงการผู้เกี่ยวข้องนั้นคือ
“ความต้องการของการใช้พื้นที่ให้ได้มากจนมากที่สุด ” แต่ทางเจ้าของโครงการมีความเข้าใจและความต้องการพื้นที่ส่วนกลาง (public space) ที่สามารถเชื่อมกับพื้นที่ทั้งภายนอกและภายในของอาคารไม่ให้ขาดออกจากกัน

ด้วยรูปร่างและขนาดที่ดินที่เตรียมไว้สำหรับการเป็นตึกแถวจึงทำให้เกิดความเป็นกล่องในเชิงพื้นที่ เงื่อนไขแรกของทีมออกแบบคือ การทำลายระบบการใช้พื้นที่ที่ต้องเป็นห้องสี่เหลี่ยมเพียงเดียว ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในเชิงพาณิชยกรรมได้มากที่สุด
“อะไรเป็นตัวแปรและจะทำอย่างไรในการออกแบบเชิงพื้นที่บนเงื่อนไขดังกล่าว ” ดังนั้นในแง่ของการออกแบบพื้นที่นั้นได้กำหนดใช้
“พื้นที่ระหว่าง ” (in between space) ที่เป็น semi public and private space เป็นตัวดำเนินเรื่องให้เป็นตัวเชื่อมกิจกรรมต่างๆทั้งภายในและภายนอกอาคาร แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวสูงในส่วนพื้นที่การใช้งานที่เป็นส่วนของห้องผ่าตัดและการพักฟื้นทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด facelift

แกนหลักของการออกแบบจึงอยู่ที่การออกแบบในมิติของพื้นที่ส่วนกลาง กับพื้นที่ระหว่างความเป็นส่วนตัวที่มีลักษณะเฉพาะทางในการใช้พื้นที่ เพื่อต้องการให้อาคารหลังนี้ได้ทำหน้าที่เป็นจุดเปลี่ยนการใช้พื้นที่และกิจกรรมใหม่ร่วมกับบริบทเดิม ดังนั้นการออกแบบระบบ circulation หลักให้ผสานกลายเป็นพื้นที่ใช้งานของกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นส่วนพักคอยที่สามารถเปลี่ยนพื้นที่ต่างตามพฤติกรรมของการสัญจรของผู้ใช้อาคารตามช่วงเวลาของวัน ซึ่งไม่ถูกทำให้กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยที่ตายตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง



เพื่อให้เกิดสภาวะของความเป็นพื้นที่ระหว่างเชิงกิจกรรมและการรับรู้ของผู้คนภายนอกอาคารที่ผ่านไปมา รวมถึงพนักงานและผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้อย่างอิสระ circulation ถูกออกแบบเพื่อสลายความเป็นกล่องโดยพื้นที่และกิจกรรมต่างๆในแต่ละชั้นถูกออกแบบให้เป็นเรื่องราวที่ร้อยต่อกันทั้งหมด 4 ชั้น โดยในแต่ละชั้นออกแบบให้พื้นที่เกิดความสัมพันธ์กับบรรยากาศภายนอกให้สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาต่างๆ ของวันผ่านช่องเปิดในแต่ละมุมมองรอบๆอาคารที่มีขนาดสัดส่วนต่างๆกัน ที่ยอมให้แสงธรรมชาติได้พาดผ่านเข้ามาภายในอาคารได้ เป็นการสร้างโอกาสของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับบริบท กิจกรรมภายในกับภายนอก โดยรอบซึ่งกันและกัน ผ่าน Facade ที่ออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นทั้งส่วนกรองแสงแดดที่เข้าสู่อาคาร แต่ไม่เป็นแผงที่บดบังสายตา และให้ความหมายใหม่เสมือนเป็นผิวหนังอาคารตัวที่ทั้งเชื่อมโยงและห่อหุ้ม “ ระหว่าง ” พื้นที่ภายนอกและภายใน

 

 


Panel Diagrams

ขอขอบคุณ คุณแขก, THstudio Architects และ Housekeeper Studio สำหรับรูป เรื่องราว และ drawing ของงานนี้ด้วยครับ

     

กรุณาส่งคำแนะนำมาที่ got_arch@yahoo.com

หน้าแรก | โปรเจค | แกลเลอรี่ | บทความ | ลิ้งค์ | เกี่ยวกับเรา