Home
Featured Projects
Photo Gallery
All Buildings
Articles
Links
About us
Interviews & Lectures
Book Reviews

   
Project : Los Angeles Museum of the Holocaust
Location : Los Angeles, California, U.S.A.
Architect : Belzberg Architects
Photos by : Tor [55 Photos]

โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนชอบดูหนังเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น Life is Beautiful, Saving Private Ryan, Enemy at the Gates และอีกหลายๆเรื่อง ถ้ามีโอกาสได้ไปเยือนที่ไหนที่มีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมมักจะหาโอกาสไปดู และล่าสุดที่เพิ่งจะเปิดมาไม่นานนี้ที่แอลเอก็เพิ่งจะมีพิพิธภัณฑ์สร้างเสร็จใหม่ ที่พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการสังหารล้างเผ่าพันธ์ของชาวยิวเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (Holocaust) ซึ่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เราคงไม่ต้องพูดถึงกันมากมาย เพราะหลายๆท่านก็คงอาจจะทราบกันอยู่บ้างแล้ว หรือสามารถหาอ่านได้จากเว็บอื่นๆที่คงมีเนื้อหาอยู่อย่างละเอียด วันนี้เลยจะขอพูดถึงแต่เรื่องราวเกี่ยวกับตัวสถาปัตยกรรมและ การนำเสนอในส่วนนิทรรศการของงานนี้แล้วกันนะครับ


ที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้อยู่ติดกับสวนสาธารณะและอนุสรณ์สถานแด่ชาวยิวที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่สอง (Holocaust Memorial) ที่มีอยู่เดิม โดยสถาปนิกต้องการที่จะให้พิพิธภัณฑ์ใหม่นี้ผสมกลมกลืนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ ตัวสวนสาธารณะเดิม จึงทำการฝังตัวพิพิธภัณฑ์ไว้อยู่ใต้ดินเสียเป็นส่วนใหญ่ และทำหลังคาให้เป็น green roof


โดยทางเดินเข้าพิพิธภัณฑ์นี้จะเชื่อมต่อกับทางเดินในสวนสาธารณะ


สถาปนิกเขาต้องการให้คนได้สัมผัสความรู้สึกแบบที่ว่าได้ยินเสียงเล่นของเด็ก ผู้คนที่มาออกกำลังกาย เสียงรถที่ผ่านไปผ่านมาเสียก่อน


แล้วค่อยๆเดินผ่านทางลาดที่ยาวพอสมควรลงไปสู่ใต้ดิน ขณะเดียวกันเสียงที่ได้ยินก่อนหน้านี้ก็จะค่อยๆเบาลงๆ


เป็นการเหมือนการค่อยๆเตรียมตัวเข้าชมโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับชาวยิวเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว


เมื่อผ่านเข้ามาที่ประตูมองไปทางขวามือจะเป็นห้องบรรยาย ซึ่งวันนี้จะมีชาวยิวผู้ที่รอดชีวิตจากการสังหารหมู่คราวนั้น มาเล่าประสบการณ์ให้ฟังกันแบบสดๆ


เดิมมาทางซ้ายมือจะเป็น counter ประชาสัมพันธ์ซึ่งมีการให้บริการ audio guide ฟรี


skylight


ทางเดินเข้าสู่ส่วนนิทรรศการ กระจกทางซ้ายมือนั้นคือกระจกด้านข้างของทางลาดที่เดินเข้ามาทีแรก ห้องนิทรรศการจะแบ่งออกเป็นประมาณ 8 ส่วน โดยส่วนแรกนั้นชื่อว่า "The World That Was"


ห้องนี้พูดถึงชุมชนชาวยิวก่อนหน้าสงครามโลก ซึ่งถ้าชาวยิวไม่ได้เป็นชุมชนที่มีความรุ่งเรืองมาก การสังหารล้างเผ่าพันธ์ในครั้งนั้นก็คงไม่เกิดขึ้น ตรงนี้มีการแสดงรูปของชาวยิวที่มีชื่อเสียงต่างๆ ที่รู้จักดีๆก็มีไอสไตน์เป็นต้น


โต๊ะแสดงนิทรรศการแบบ interactive


จะเป็นรูปภาพลอยไปมา เมื่อแตะรูปไหน รูปนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้น และบอกเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าของรูปภาพนั้น (ดูแล้วหลอนๆยังไงพิกล)


ห้องถัดมาชือว่า "Rise of Nazism" เมื่อนาซีได้เข้าครองอำนาจ


บัตรประจำตัวของชาวยิว


เมื่อนาซีได้ปกครองประเทศเยอรมัน ฮิตเลอร์ซึ่งเกลียดยิวอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ได้โน้มน้าวให้ชาวเยอรมันเกลียดคนยิว และก็เริ่มวางแผนที่จะกำจัดคนยิวให้หมดไปจากโลกนี้


หมวกและแส้ของทหารเยอรมัน เพิ่งได้เห็นของจริงเป็นครั้งแรก ดูแล้วรู้สึกขนลุก


ระหว่างทางที่เดินเข้ามานี้จะเป็นทางลาดลงไปเรื่อยๆ แสงธรรมชาติก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆเช่นเดียวกัน


ห้องนี้เป็นห้องจำลองตู้รถไฟที่ใช้คนส่งชาวยิวไปทำงานและสังหารตามค่ายกักกันต่างๆ


บรรยากาศภายใน


ทางเดินไปสู่ห้องถัดไปซึ่งเป็นห้องที่เกี่ยวกับการสังหารหมู่


The Holocaust และผู้ที่อยู่เบื้องหลัง


"ARCHITECTS OF THE FINAL SOLUTION " เป็นการนิยามคำว่าสถาปนิกในทางที่หดหู่ไม่น้อย


ห้อง "Death Camp" ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนในสุดของ พิพิธภัณฑ์ ซึ่งให้บรรยากาศค่อนข้างจะมืด และผนังต่ำสุดภายใน พิพิธภัณฑ์


โมเดลของหนึ่งใน Death Camp หรือ Concentration Camp


การให้คำจำกัดความของคำว่า การสังหารล้างเผ่าพันธ์ ในที่นี้มีตัวอย่างของประเทศอื่นๆด้วยเช่น กัมพูชา อาร์เมเนีย เป็นต้น


ทางไปห้องถัดไปจะเริ่มเป็นทางลาดขึ้นแล้ว แสงธรรมชาติก็เริ่มเพิ่มขึ้นเข้ามา


ห้องต่อมาเป็นการแสดงเกี่ยวกับการตอบสนองของชาวโลกเกี่ยวกับการสังหารหมู่ในครั้งนี้ และการให้ความช่วยเหลือ


กล่องสีดำๆด้านข้างนี้นอกจากจะใช้ในการซ่อนไฟแล้วยังเป็นช่องสำหรับท่อแอร์อีกด้วย


ถัดมาเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับชีวิตของชาวยิวหลังจากถูกปลดปล่อยจากสถานกักกัน


นิทรรศการสุดท้ายเป็นนิทรรศการหมุนเวียน


ซึ่งคราวนี้เป็นงานศิลปะที่สะท้อนชีวิตชาวยิวในตอนนั้น


ปิดท้ายที่ห้องบรรยาย


บันไดออกไปสู่บริเวณสวนสาธารณะ


มองย้อนออกไปตรงทางลาดที่เดินเข้ามาตั้งแต่ทีแรก


เดินออกมาดูภายนอกกันบ้าง มุมนี้มองจากทางด้านสวนสาธารณะ


Holocaust Memorial


ประตูทางเข้าจากทางด้านสวนสาธารณะ


เดินขึ้นไปดูบนหลังคาของอาคารกันบ้าง


พื้นที่ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าไว้ทำอะไร

โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วผมว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีแนวความคิดในการนำเสนอที่ดีทีเดียว จาก "เสียงดัง" ไปสู่ "ความเงียบ" จาก "สูง" ไปสู่ "ต่ำ" จาก "สว่าง" ไปสู่ "มืด" รูปแบบการจัดนิทรรศการที่เป็นแบบ interactive และของที่นำมาจัดแสดงนั้นทำได้ดีทีเดียว แต่จากการที่เข้าไปเดินใน space จริงๆแล้ว ยังไม่ได้รับความรู้สึกที่สะท้อนถึงความหดหู่ สิ้นหวัง และกดดัน อย่างที่สถาปนิกเขาตั้งใจไว้มากเท่าไรนัก เมื่อเปรียบเทียบกับ Jewish Museum ที่ Berlin ที่ออกแบบโดย Daniel Libeskind ถึงแม้ผมจะไม่เคยไป เคยเห็นแต่ในรูปอย่างเดียว ซึ่ง space ในงานชิ้นนั้น ถึงแม้ไม่มีของหรือนิทรรศการมาจัดแสดงเลยแม้แต่ชิ้นเดียว แต่ตัว space นั้นบ่งบอกถึงความรู้สึกได้ชัดเจนกว่า อย่างไรก็ตามพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ช่วยกระตุ้นความรู้สึกให้ผู้คนได้รับรู้อีกครั้งว่า เหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น มันไม่ควรเกิดขึ้นอีกครั้งในโลกใบนี้

ถ้าต้องการพูดคุยเกี่ยวกับงานนี้ เชิญ ที่นี่ ครับ

ถ้าต้องการดูแปลนของงานนี้ ที่เว็บทางการของพิพิธภัณฑ์เขามี Virtual Tour ให้ดูได้ ที่นี่ ครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม และ ภาพแบบมือโปร ดูได้ที่เว็บของสถาปนิก ที่นี่ หรือ archdaily ที่นี่ ครับ

     

กรุณาส่งคำแนะนำมาที่ got_arch@yahoo.com

หน้าแรก | โปรเจค | แกลเลอรี่ | บทความ | ลิ้งค์ | เกี่ยวกับเรา