เช้าวันหนึ่งได้เกิดความรู้สึกอยากไปเดินออกกำลังกายที่สวนรถไฟซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก ก็เลยเป็นโอกาสดีที่ได้แวะไปเยี่ยมชมงานสวนโมกข์กรุงเทพฯ ก็เลยเก็บภาพมาฝากกันครับ จากข้อมูลที่หามาได้จากเว็บอื่นๆ แนวความคิดของงานนี้ก็คือ เป็นการจำลองสวนโมกข์ต้นฉบับที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มาไว้ที่นี่ อย่างเช่น ลานหินโค้ง ซึ่งเป็นลานโล่งให้คนทั่วไปได้เข้ามานั่งพักผ่อน นั่งสมาธิ และจัดกิจกรรม เกาะที่มีต้นมะพร้าวตรงกลางน้ำซึ่งจำลองมาจากสระนาฬิเกร์ และช่องลมสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตรงชั้นสามของอาคาร ที่เลียนมาจากสถาปัตยกรรมของโรงมหรสพทางวิญญาณ เป็นต้น
การวางผังของอาคารก็เป็นแบบเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ชั้นหนึ่งหลักๆจะเป็นพื้นที่โล่งๆ คล้ายๆใต้ถุนอเนกประสงค์ และมีส่วนห้องหนังสือ/สื่อธรรมะ และส่วนประชาสัมพันธ์ ชั้นสองนั้นจะเป็น ห้องปฏิบัติธรรม/ประชุมสัมมนา ห้องนิทรรศการนิพพานชิมลอง และ สวนปฏิจจสมุปบาท ส่วนชั้นสามนั้นเป็น ห้องจดหมายเหตุซึ่งเป็นห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น เพื่อให้หนังสือและเอกสารของท่านพุทธทาสคงอยู่ในสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด นอกจากนั้นก็จะเป็นส่วนออฟฟิส ห้องค้นคว้า และห้องประชุม
การใช้วัสดุนั้นยึดหลักสมถะ ตรงไปตรงมา จะเห็นได้จากการใช้คอนกรีตเปลือย ปูนเปลือย เหล็ก ไม้ งานระบบหลายๆจุดก็จะไม่ได้มีการปกปิดใดๆครับ

มุมมองไกลๆจากบริเวณทางเดินในสวนรถไฟ



เสาห้าต้นนี้ท่านพุทธทาสบอกไว้ว่า
" มาจากอมราวดี วิหารอมราวดี ทุกแห่งแม้ที่บูชาพระพุทธรูปจะมีขีด 5 ขีดอยู่ข้างหลัง ผมชอบคำว่า 5 ก็เลยเอามาเป็นเสา 5"
และท่านก็ได้สรุปไว้ว่า "คนอื่นตีความอย่างไรก็ตามใจเขา เรานึกๆอยู่ในใจของเราว่า อินทรีย์ 5 พละ 5 จะตรงที่สุด
ที่อมราวดีในอินเดียสมัยโน้น เขาอาจจะหมายถึง พระเจ้า 5 องค์ ก็ได้"
ที่มา
http://www.bia.or.th/index.php/en/faq/31-general/48-2010-07-21-12-11-31.html

 


แปลนชั้น 1, 2 และ 3

มองไปที่ทางเข้าจากถนนข้างหลังอาคาร ป.ต.ท.



ทางเดินไปสู่โถงด้านใต้อาคารซึ่งทางขวามือจะเป็นห้องหนังสือและสื่อธรรมะ

ภายในห้องหนังสือและสื่อธรรมะ


เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์

บริเวณโถงโล่งๆของชั้น 1

หินเทียมที่ทำได้เหมือนมาก บางก้อนมีลำโพงซ่อนอยู่ข้างในด้วย


ลานหินโค้งสำหรับนั่งพักผ่อน นั่งสมาธิ และจัดกิจกรรม







ขึ้นมาดูชั้น 2 กันบ้าง ด้านซ้ายมือเป็นห้องนั่งปฏิบัติธรรม

ประตูห้องปฏิบัติธรรม


บรรยากาศภายในที่เงียบสงบ และเห็นวิวที่เขียวชอุ่มของสวนรถไฟ

โถงโล่งระหว่างห้องปฏิบัติธรรมกับห้องนิทรรศการนิพพานชิมลอง



สวนปฏิจจสมุปบาท

ห้องนิทรรศการนิพพานชิมลอง

ภายในห้องนิทรรศการ แต่เนื่องจากไปเช้าไป เขายังไม่เปิดให้ใช้บริการ เลยอดเข้าไปชมครับ


ขึ้นมาถึงชั้นสามแล้ว

ทางเดินรอบๆห้องของชั้นสาม โดยผนังที่มีช่องสี่เหลี่ยมนี้ที่ว่าเลียนมาจากโรงมหรสพทางวิญญาณ

ทางเดินหลักตรงชั้นสาม

ทางลาดด้านข้างอาคาร





เดินย้อนกลับมาที่เดินเข้ามา เพราะดูเหมือนว่าจะไม่สามารถทะลุไปอีกฝั่งของสวนรถไฟได้


ย้อนกลับมาที่สระนาฬิเกรอีกรอบเป็นการสิ้นสุดการเยือนสวนโมกข์กรุงเทพฯในครั้งนี้
ข้อมูลอ้างอิงและแนวความคิดในการออกแบบเพิ่มเติมอ่านได้ที่นี่ครับ http://dhamma4u.com
รูปเพิ่มเติมจากเว็บ 4-arch.com ดูได้ ที่นี่ ครับ
ถ้าต้องการพูดคุยหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานนี้ เชิญ ที่นี่ ครับ
|